วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ช่วงเช้า
ช่วงเช้า
- เริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยกิจกรรมจิตศึกษารูปแบบ โยคะ กับการกลับมารับรู้ลมหายใจของตนเอง
- วิชาภาษาอังกฤษจากครูเหมี่ยวผ่านบทเพลง QUE SERA SERA เพื่อเพิ่มพูลทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
- ภาษาไทยนอกะลา เริ่มต้นด้วยการทบทวน เรื่องราวจากบทที่แล้ว จากนั้นสร้างแรงจูงใจในการอ่าน เพื่ออ่านวรรณกรรมเรื่อง บาปของนักบุญให้จบ จากนั้นร่วมกันถ่ายทอดผ่านบทละคร ของพี่ ม.3 -
- คณิตศาสตร์ จากครูน้ำผึ้ง เริ่มต้นการเรียนรู้ กราฟพาลาโบรา
ช่วงบ่าย
- อ่านบทความ วัวไม่ได้กินเนื้อ แต่ทำไมถึงมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูง จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์ผ่าน คำถามกระตุ้นคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติม
- ลงมือเก็บข้อมูลในวิชา PBL 2 เพื่อติดตามผลงานของกลุ่ม ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปถึงจุดใด
สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จากการตั้งคำถามดี ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ที่มาของสิ่งนั้น นำมาซึ่งความเข้าใจใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ
......................................................................................................................................................................................................
วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ช่วงเช้า- กิจกรรมจิตศึกษา จากครูเหมี่ยว
- วิชาคณิตศาสตร์ จากคุณครู น้ำผึ้ง - สังเกตการณ์สอนวิชา ภาษาไทย ของพี่ ม.1
- ร่วมเรียนรู้ วิธีการไถนากับพี่ ม.1 พร้อมเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน อีกทั้ง ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เจอในช่วงของการไถนา
ช่วงบ่าย
- BODY SCAN ผ่านการนอนเพื่อให้ร่างกายของเราได้พักผ่อน
- PBL 2 ART เพิ่มทักษะและความประณีตของงาน ผ่านการปั้นงานชิ้นที่ 2
- ฝึกซ้อม ต่อเติม ติเพื่อก่อ เกี่ยวกับละครหน้าสงธง ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ของพี่ ม.3
- PLC ของครูมัธยม ร่วมพูดคุยปัญหา และเรียนรู้ความคิดใหม่ๆ จากครูใหญ่
สิ่งที่เรียนรู้ใหม่
ต้นทุนของชีวิต ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน ในประเด็นต้นทุนชีวิตของเด็ก
ระดับความพึงพอใจของตนเอง คนแบบไหนที่เรียกตนเองว่า คนที่ประสบผลสำเร็จ
อ่านบทความ คนโชคดี ของครูใหญ่ ทำให้รู้ว่า ในแต่ละวันเราล้วนโชคดีขนาดไหน แม้กระทั่งสิ่งเล็กๆก็นับว่าเป็นความโชคดีก็ได้
วิธีการแยกต้นข้าว หับ ต้นหญ้า ให้ดูที่ปล้องของต้น ถ้ากลมคือหญ้า ถ้าเรียวคือข้าว
.......................................................................................................................................................................................................
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ช่วงเช้า
ช่วงเช้า
- กิจกรรมละครหน้าเสาธง จากพี่ ม.3 มอบรอยยิ้ม มอบความสุข มอบเสียงหัวเราะ ให้กับทุกคนในโรงเรียน พร้อมทั้งเสริมสร้าง ความกล้าแสดงออก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการสะท้อนตนเองในสิ่งที่ขาด
- วิชาภาษาไทย จากครูภร และ ครูแจ็บ เกมวงกลมบอกความพูดความจริง จากครูแจ็บ เสริมเพิ่มเติมหลักภาษาในการอ่านข่าว จากครูภร
- PBL 1 สืบค้นหาข้อมูล จากแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งประมวลความรู้ที่ได้มา จากโจทย์ปัญหาเรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ช่วงบ่าย
- กิจกรรม Body scan จากครูแจ็บ ผ่านเรื่องเล่า คนโชคดี
- PBL 1 นำเสนอข้อมูล จากอาทิตย์ที่แล้ว ในหัวข้อเรื่องของ นักปกครองที่มีความสำคัญ ประวัติโดยย่อ หลักในการปกครองบ้านเมือง เราคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการปกครองแบบที่เขาทำ
- ร่วมกันทำความสะอาด แปลงผักของโรงเรียน วันนี้พี่ ม.3 ม.2 ม.1 ได้ช่วยกันดูแลซึ่งความสะอาดของแปลงผัก แสดงออกถึง ความมีจิตอาสา และแบ่งปันผู้อื่นเสมอ
สิ่งที่เรียนรู้ใหม่
การทำงานเป็นทีมของพี่ ม.3 ในการทำงานวันนี้ มีความสามัคคีมากขึ้น เราเห็นถึงความงอกงามในด้านนี้ ค่อนข้างชัดเจน และพยายามที่จะทำให้งอกงามต่อไป
...........................................................................................................................................................................................................
วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ช่วงเช้า
ช่วงเช้า
- กิจกรรมจิตศึกษา หนังสือ สมุด ไอแพด ถ้าเราเปลี่ยนชื่อสิ่งนี้ เราจะเรียกเขาว่าอะไร จากครูเหมี่ยว
- สังเกตการณ์สอนวิชา ภาษาไทย ของพี่ ม.2
- วิชาคณิตศาสตร์ จากคุณครู น้ำผึ้ง แก้โจทย์ปัญหา พร้อมทั้ง นำผลที่ได้ลงสู่กราฟ พาลาโบรา
- PBL 2 ART นำงานปั้นที่ผ่านการเผาแล้ว ลงสู่การเติมแต่ง เพิ่มเติมสีสันให้สวยงาม
ช่วงบ่าย
- BODY SCAN ผ่านการนอน และ บทความจากครูน้ำผึ้ง
- PBL 1 ทำสรุปสัปดาห์ของตนเอง ปัญหาที่เราพบในสัปดาห์นี้ และเราจะต้องเพิ่มอะไรอีกในสัปดาห์ถัดไป พร้อมทั้งประเมินตนเอง
- PLC ของครูนักศึกษาฝึกสอน จากการได้อ่านวรรณกรรม ต่อเติมด้วยคำถามกระตุ้นคิด วรรณกรรมสื่อสารอะไรกับเรา แรงขับภายใน ภายนอกของตัวละครเป็นอย่างไร วรรณกรรมสะท้อนสังคมในด้านใดบ้าง
สิ่งที่เรียนรู้ใหม่
เรียนรู้แนวคิด ในการออกแบบการสอนในวิชาภาษาไทย วรรณกรรมเรื่องนี้ แบบนี้ เราสามารถออกแบบการสอนได้อย่างไร
การสอนวรรณกรรม จากภายนอกสู่ตัวเด็ก หรือ จากตัวเด็กสู่ภายนอก
แก่นของเรื่อง ถ้าเป็นวรรณกรรมที่ถูกแบ่งออกเป็นตอนๆ แต่ละตอนจะมีส่วนที่คล้ายกันอยู่ นั้นแหละคือ แก่นของเรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น