วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560
เริ่มต้นเช้าวันนี้อย่างมีความหมายกับการกำกับสติของตนเอง ระหว่างการเดินกลับไปที่บ้านของมัธยม และเริ่มกิจกรรมจิตศึกษา ใคร่ครวญลายหยดน้ำ กิจกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึง การใคร่ครวญจากเหตุการ์ในชีวิตจริงของพี่ ม.3 ผ่านคำถามกระตุ้นการคิด เราเห็นอะไร? เรารู้สึกอย่างไร? และสองคำนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จากสื่อบัตรคำ ตัวเอง และคนอื่น จากนั้นแจกอุปกรณ์ 1 ชุด ประกอบด้วย กระดาษ สีน้ำ และไม่จิ้มฟัน แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิดว่า ในชีวิตของเราเคยช่วยคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนหรือไม่ ถ้ามีให้พี่ๆวาดรูปเหล่านั้นลงไปในกระดาษ โดยใช้เพียงสีน้ำเท่านั้น
ครูขอให้พี่ๆอยู่กับตนเองสัก 5 นาที
เพื่อใคร่ครวญ เมื่อวาดเสร็จแล้ว เราจะร่วมแชร์สิ่งที่ได้ให้กันฟัง
ก่อนจบกิจกรรมศึกษา ได้ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นทุกคนว่า อยากให้ทุกคนรู้ค่าของเวลา และในแต่ละวันควรมีเป้าหมายของตนเองให้ชัดเจน
ในรายวิชาภาษาไทยวันนี้ ครูเริ่มต้นด้วยการทบทวนการบ้านที่สั่งไปในอาทิตย์ที่แล้ว ว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นให้พี่ๆ อ่านบทละครที่ตนเองแต่ง แล้วพาอ่านวรรณกรรมต่อจากเดิม ด้วยในวันนี้ได้เรียนรู้มุมมองของตัวละครที่เพิ่มมาอีกหนึ่งตัว คือ ครุกส์ เพียงอ่านไม่ถึงสามถึงสี่ย่อหน้ากับทำให้เรารู้จักตัวละครเพิ่มมากขึ้น จากการใช้คำถามของครู คิดว่าเขาเป็นคนอย่างไร จากการอ่านคิดว่าเขาชอบทำสิ่งใด การสะสมหนังสือของตัวละคร แสดงว่าเขาเป้นคนที่อ่านหนังสือออก แล้วพี่ๆคิดว่าในฟาร์มสมัยก่อน ตัวละครทุกตัวจะได้เรียนเหมือนกับเราไหม และครูก็เชื่อมโยงไปยังว่าเนื่องด้วยอาทิตย์นี้เป็นวันครู ครูเลยใช้คำถามกระตุ้นการคิดอีกว่า ครูเปรียบได้กับอะไร ตามแบบฉบับความคิดของพี่แต่ละคน โดยเขียนและวาดรูปจากการะดาษที่ครูแจกให้ นับเป็นการเรียนภาษาไทย ในรูปแบบนอกกะลา ที่ไม่ได้ยึดตามหลักของการสอนจากหนังสือเรียน แต่กับใช้เนื้อหาของวรรณกรรม และ การใช้คำถามที่ดี ทำให้เด็กนักเรียนได้เห็นมุมมองที่มากขึ้น
ในช่วงบ่ายของวันพี่ๆ ม.3 ได้ทำการซ้อมการแสดงในวันครูที่จะมาถึง ด้วยความเคารพความรักของพี่ ม.3 ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงสุดพิเศษ ที่พี่ ม.3 ร่วมกันแต่งขึ้นให้กับคุณครูทุกคน
.............................................................................................................................................................
วันอังตารที่ 6 มิถุนายน 2560
สิ่งที่ได้ทำในวันนี้
กิจกรรมศึกษาในวันนี้ของพี่
ม.3 คือการเดินเพื่อกำกับสติของตนเอง รอบบริเวณโรงเรียน มีจุดหมายในการเดิน คือ
ต้นกระท้อนหลังโรงเรียน โดยมีการใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่เห็นอะไร
พี่รู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ระหว่างที่เดินมีใครที่หลุดออกจากการกำกับสติของตนเอง
และกลับมารับรู้ตัวได้ทันเวลาบ้าง
หลังจากจบกิจกรรมจิตศึกษาก็เริ่มเรียนในวิชาภาษาไทย ซึ่งการเรียนการสอนก็ดำเนินตามกิจกรรมดั่งนี้
- ใช้เกมการยืนเป็นวงกลม เพื่อตรวจสอบดูว่า ใครที่ยังไม่ได้อ่านวรรณกรรมมา
- มีการใช้คำถามกระตุ้นการคิดเพื่อให้คิดต่อจากวรรณกรรมที่อ่าน โดยถามถึงถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นกับเรา
เราจะมีวิธีในการจัดการกับเหตุการณ์อย่างไร
- จากนั้นได้ให้เขียนโครงเรื่องโดยมีสิ่งสำคัญดังนี้ ตัวละคร เหตุการณ์ สถานที่ ข้อคิด และคำถาม
ในช่วงเย็นก่อนการเลิกเรียน ครูแจ็บได้มีโอกาสไปช่วยพี่ ม.1 ในการเตรียมแปลงนา เพื่อปลูกข้าว ทำให้ได้สร้างสัมพันธภาพกับพี่ ม.1 มากขึ้นและได้เห็นอีกมุมของพี่ ม.1 หลายๆคน
ความรู้ใหม่ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมจิตศึกษาเราสามารถเดินเพื่อกำกับสติแบบยาวได้ ในตอนแรกคิดเพียงแค่ว่า การทำกิจกรรมจิตศึกษาจะมีเพียงแค่การ การทำจิตศึกษาตอนเช้า Bodyscan จัดกายจัดใจเพียงเท่านั้น
การใช้เกม วงกลม ของครูภรในการตรวจดูว่าใครไม่อ่านหนังสือมา กิจกรรมนี้ทำให้การถามว่าใครไม่ได้หนังสือมานั้น ดูเบาลงมากขึ้น
การได้ช่วยพี่ ม.1 ในการทำแปลงนา ทำให้เราสามารถสร้างสัมพันธภาพกับเขาเพิ่มมากขึ้น
............................................................................................................................................................
วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556
กิจกรรมจิตศึกษาในวันนี้ ผมมีโอกาสได้ทำจิตศึกษากับพี่ ม.3 ชื่อกิจกรรมว่า ใบไม้เล่าเรื่อง ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ หลังจากที่ทำกับพี่ ม.3
ผลตอบรับคือ พี่ทุกคนตั้งใจในการทำทั้งหมด ในส่วนการสะท้อนตัวเอง สิ่งที่คิดว่าตัวเองทำได้ดีที่สุด คือสามารถพาตัวกิจกรรม ขั้นเตรียม ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป ไปถึงเป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ น้ำเสียงที่ใช้ได้ยินชัดเจน ไม่เบาและไม่ค่อยจนเกินไป มีการเตรียมตัวตัวมาค่อนข้างดีทำให้ไม่มีอาการตื่นเต้น สิ่งที่ควรปรับปรุงในครั้งต่อไป คือการทำกิจกรรมไม่ควรบอกละเอียดจนหมด ว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง ควรมีการตั้งคำถามให้มันเข้าไปถึงตัวผู้ถูกถามได้ มีการคุมเวลาให้ดีกว่านี้
การสังเกตการณ์สอนวิชาภาษาไทย ในชั้น ม.1 มีการตั้งคำถามที่ละเอียดมากขึ้น มีการใช้การเปรียบเทียบเรื่องของวรรณกรรม กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน สภาพสังคมแตกต่างกันหรือไม่ แล้วเราจะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไร จากนั้นทบทวนในเรื่องของหลักภาษาไทยเรื่อง ชนิดของคำ จากการใช้กิจกรรมบิงโกคำศัพท์ เพื่อทดสอบ ทักษะการใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ กับ ภาษาไทย แล้วก็แบ่งกลุ่มทำการแยกชนิดคำจากคำที่เรามาเล่น บิงโก แล้วก็ให้ไปหาหลักภาษาเรื่อง ประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน ประโยคความซ้ำ เพื่อนำมาคุยกันในอาทิตย์หน้า
ช่วงบ่ายหลังจากรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จ พี่มัธยมทั้งหมดก็ได้มาซ้อมการไหว้ครู ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ เร่มต้นจากการซ้อม บทบูชาครู และ การไหว้ครูที่ถูกต้อง หลังจากนั้นได้ไปเรียนรู้ร่วมกับครูใหญ่ เพื่อเรียนรู้ว่า เราจะวาดรูปไปเพื่อทำไม และสร้างแรงบันดาลใจในการวาดภาพ
ช่วงเย็นได้ทำการ PLC ร่วมกับครูมัธยมทั้งหมด ตอนแรกเป็นการรีวิวจิตศึกษาของน้องนักศึกษาทั้งหมด ว่าเป้นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ต้องเพิ่มอย่างไร และควรลดอะไร จากนั้นครูน้ำผึ้งให้คำถามว่า เราทำอะไรไปแล้วบ้าง? อาทิตย์นี้เรางอกงามอะไรบ้าง?
ความรู้ใหม่ในวันนี้
การตั้งคำถามของครูดอกไม้ โดยถามว่า ช่วงไหนในวรรณกรรมที่สื่อสารกับเรามากที่สุด? การตั้งคำถามแบบนี้ เพราะว่า การที่คนเราอ่านวรรณกรรมเล่มเดียวกัน แต่ละคนจะมีจุดที่เราสัมผัสได้ไม่เท่ากัน บางคนอาจรู้สึกเศร้ากับช่วงนี้เป้นพิเศษ แต่กับอีกคนอาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย
เทคนิคในการวาดรูปของครูใหญ่ เวลาที่วาดรูปคือ (ให้ แล้วค่อย รับ ) หรือ ( Out แล้วค่อย In )
ได้ทราบเด็กที่มีปัญหาของแต่ละห้องจากการ PLC เพราะตอนแรกเรายังไม่ค่อยมั่นใจในสิ่งเราสังเกตอยู่ และการได้ริวิวการทำจิตศึกษาจากครูประจำชั้นว่า เราทำดีในส่วนไหน และควรปรังปรุงอะไร
...................................................................................................................................................................................................
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สิ่งที่ได้ทำในวันนี้
กาลเวลาเดินผ่าน จวนบรรจบพบเจออีกครั้ง
เป็นวันที่ศิษย์โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จะมีกิจกรรมวันไหว้ครู เพื่อแสดงออกถึงความรัก และความนอบน้อมต่อครูผู้มีพระคุณทุกท่าน
ในคาบแรกของการเรียนรู้ พี่
ม.3 ใช้เวลากับการหาข้อมูล วิชา PBL1 เพื่อเตรียมในการนำเสนอในช่วงบ่าย
วิชาคณิตศาสตร์ของครูน้ำผึ้ง เป็นการสรุปองค์ความรู้เรื่อง รากที่สอง รากที่สาม
ที่ได้เรียนในอาทิตย์นี้ ในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอผลการสืบค้นงานของพี่ ม.3
แต่ละกลุ่ม และสรุปองค์ความรู้ของกลุ่มตนเอง ด้วยมีโจทย์ให้ว่า ในอีก 250
ปีข้างหน้าโลกของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และการสรุปงานต้องเป็นการวาดภาพสื่อความหมาย คนที่ไม่ได้เข้าฟังการนำเสนองานของพี่
แต่ดูรูปที่พี่วาดจะต้องเข้าใจทั้งหมด ในช่วงเย็นได้มีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี
น้อง_พี่_ครู_ผู้ปกครอง
น้อง_พี่_ครู_ผู้ปกครอง
สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่
พิธีไหว้ครูถูกจัดขึ้นง่าย ราบเรียบไม่ได้มีสิ่งใดที่พิเศษ แต่บรรยากาศในงานกลับเต็มไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเองของครูกับนักเรียน การได้เห็นพี่โรงเรียนลำปลายมาศนำ ต้นไม้ ดอกไม้ มาไหว้ครู ซึ่งทำให้เราเห็นคุณค่าสิ่งที่นำมา อาจจะไม่ใช่ของที่แพงที่สุด แต่กลับเป็นสิ่งของที่มีค่ามากที่สุด ที่เราจะน้อมรับด้วยความจริงใจ
.................................................................................................................................................................................................
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560
เมื่อเข้าแถวเคารพธงชาติ เสร็จเรียบร้อย พี่ๆ ม.3 เริ่มด้วยการเดินเพื่อกำกับสติรู้ตัว หลังจากเดินเสร็จ เช้านี้พี่ ม.3 ได้ทำจิตศึกษากับ ครูล้าน คุณครูที่ร่วมเรียนรู้กับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ซึ่งครูล้านได้ใช้กิจกรรมชื่อว่า ใช้อย่างที่คิดหรือเปล่า เป็นกิจกรรมจิตศึกษาที่ให้พี่ๆ คิดว่า สิ่งที่อยู่ข้างในใช้แบบที่ตัวเองคิดหรือเปล่า ผ่านการสัมผัสทั้ง 3 รูปแบบ แบบที่ 1 การฟังเสียง
แบบที่ 2 การดมกลิ่น แบบที่ 3 การสัมผัสโดยตรง จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นการคิดว่า ได้เรียนรู้ไรจะกิจกรรมนี้บ้าง ? ต่อจากกิจกรรมจิตศึกษา ก็เป็นวิชาภาษาไทยนอกกะลง ของพี่ ม.2 ในวันนี้ครูฟ้าเริ่มต้นด้วยการ
- แบ่งกลุ่มพี่ๆ ออกเป็น 4 กลุ่มโดลเลือกตัวแทนกลุ่มมา 1 คน แล้วเรียกว่า เจ้าบ้าน จากนั้นให้แต่ละคนพูดในเรื่องของ การได้ไปถามกับครูใหญ่มาว่า ครูใหญ่เคยทำอไรมาบ้าง เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ก็ให้หมุนวนจนกว่าจะครบทุกคน
- กิจกรรมต่อภาพที่ได้มาจากการระบายสีของพี่ ม.2 ข้างหลังภาพจะเขียนคำที่ยืมคำมาให้
- จากนั้นครูฟ้าให้พี่ แต่ละกลุ่ม แต่งบทกลอนอะไรก้ได้ โดยมีข้อแม้ว่า ในบทกลอนต้องมี คำที่อยู่ข้างหลังภาพ และชื่อของสมาชิกคน เมื่อแต่ละกลุ่มแต่งเสร้จแล้วให้นำบทกลอนมาอ่านให้เพื่อนฟัง
ช่วงบ่ายของวันนี้ เป็นกิจกรรมสุดพิเศษ อีกหนึ่งกิจกรรม คือ ผู้ปกครองอาสา ที่ผู้ปกครองชองพี่ ม.3 มาจัดให้กับลูกๆของตนเองที่ห้องเรียน ผ่านกิจกรรมการดูภาพยนตร์ร่วมกัน คือเรื่อง About time ที่ดูจบแล้ว ผู้ปกครองให้พี่ๆ คุณครู ใด้แชร์ความรู้สึกเกี่ยวกับภาพยนต์เรื่องนี้ ว่ารู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
หลังจากเสร็จกิจกรรม ผู้ปกครองอาสา ก็เป็นการ PLC ของนักศึกษาฝึกสอน โดยเริ่มจากกิจกรรมจิตศึกษาจากครูภร และการ walk and Talk ในหัวข้อ ในสัปดาห์นี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ประทับใจในส่วนไหนบ้าง และต้องปรับแก้อะไรที่เรายังเป็นจุดบกพร่องอยู่
การสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่
การเรียนรู้ไม่จำเป็นตองอยู่ที่ครูเสมอไป ภาพยนตร์ดี ๆ ก็สามารถสอนอะไรได้มากมาย
บ้างครั้งสิ่งที่เด็กน้อยคิด อาจช่วยขยายสิ่งที่เราคิดอยู่ก็ได้
อย่าไปตัดสินคนจากภายนอก ถ้ายังไม่ได้ไปสัมผัสกับเขาจริง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น