กิจกรรมจิตศึกษาในเช้านี้เริ่มต้นด้วยการกำกับสติของตนเองให้กับมารู้สึกตัว ผ่านกิจกรรม กระจกเงา โดยครูเป้นคนทำท่าทางขยับร่างกาย แล้วให้พี่ ม.3 ขยับร่างกายตาม จากนั้นก็ได้ให้พี่ คิดท่าทางออกมาคนละ 2 ท่าเเละทำร่วมกันจนครบ เสร็จเเล้วให้ให้พี่ๆดู เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดงา แล้สตั้งคำถามกับสิ่งนี้ว่า เห็นอะไร เราเกี่ยวข้องอย่างไรกับสิ่งนี้ แล้วให้พี่ ม.3 แชร์ความคิดกัน จากนั้นครูถามต่อไปอีกว่า ถ้าให้เลือกปลูก 2 สิ่งนี้จะปลูกที่ไหน โดยมีคำตอบมาให้เลือก 3 ข้อ คือ 1 ปลูกในกระถางเล็กๆ 2 ปลูกในพื้นที่หนึ่งไร่ และ 3 ปลูกเป็นพื้นป่าใหญ่ จากนั้นให้ตอบมาคนละ 1 คำตอบ เมื่อตอบเสร็จเเล้ว ครูเฉลยว่าสิ่งที่เลือก ถ้าเลือกข้อ 1 คือกำลังโฟกััสกับปัจจุบัน เเละ 2 กับ 3 คือมามองอนาคต โดยมีขนดแตกจ่างกันออกไป ได้ให้พี่กลับไปคิดทบทวนเอง ว่าเหตุใดจึงเลือกตอบข้อนี้ เพราะอะไร เพราะทำไม
จากนั้นเริ่มต้นเรียนวิชาภาษาไทยในวันนี้พี่ได้เริ่มอ่านวรรณกรรมเรื่อง เพื่อนยาก
โดยวันนี้เป็นการสังเกตในวิชาภาษาไทยแบบเต้มรูปแบบ และเป็นครั้งเเรกที่ได้เห็นการสอนวิชาภาษาไทย ของโรงเรียนลำปลายพัฒนา ซึ่งเป็นการสอนผ่าน วรรณกรรม โดยครูออกแบบกิจกรรมการสอนดั่งนี้
ขั้นเเรก
- ทบทวนความรุ้เดิมจากอาทิตยืที่แล้ว
- ให้เลือกประโยคที่เราชอบจากการวรรณกรรมมาคนละ 1 ประโยค
- ถ้าพี่คนไหนเสร็จเเล้วให้ยืนขึ้น
- ใครที่ยังไม่ได้อ่านให้นั่งลง จากนั้นให้เพื่อนที่อ่านเเล้วเลือกเพื่อนมาสองคน แล้วเล่าให้เพื่อนฟัง ว่ามีรายละเอียดใดบ้าง คนละ 10 นาที
- จากนั้นรวมกลุ่มใหญ่เหมือนเดิม
- ครูถามคนที่ยังไม่ได้อ่าน แล้วให้เล่ารายละเอียดของเรื่อง
- สองคนนี้มีเป้าหมายอย่างไร
- สรุปตัวละครที่เดินเรื่อง
- ลักษณะของตัวละคร
- สองคนนี้มีอะไรที่เป็นจุดที่ทำให้ทั้งสองคนมาเป็นเพื่อนกัน
- สิ่งที่สองคนนี้มีเหมือนกัน
- ความประทับใจจากเรื่องนี้คืออะไร
เสร็จเเล้วถามต่อไปอีกว่า คิดเห้นอย่างไรกับประโยคที่ว่า และเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยความสมบูรณ์ของเเผ่นดิน พี่ๆมีความคิดเห้นอย่างไรบ้าง และสถาณการณ์ในปัจจุบันขัดแย้งอย่างไรกับประโยคนี้
ส่วนในช่วงบ่ายได้ร่วมกับพี่ ม.3 ทำ ป้าย PBL และ ปฏิทินของห้องเรียน ทำให้วันนี้รู้สึกสนิทสนมกับพี่ๆ ม.3 มาขึ้นไปอีก
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
แนวทางและกระบวนการของการสอนวิชาภาษาไทย ว่ามีลักษณะอย่างไร และมีความแตกต่างจากวิธีการสอนรูปแบบอื่นอย่างไร
...................................................................................................................................................................
วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2560
เช้านี้พี่ๆม.3 ได้ทำกิจกรรมจิตศึกษา กำกับสติเพื่อได้อยู่กับตัวเองผ่านกระบวนการ โยคะ โดยในวันนี้พี่ๆ ม.3 หลายครสามารถทำท่าโยคะต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยม หลังจากทำท่าโยคะต่างๆ พี่ ม.3 ก็เริ่มเรียนในวิชาเเรกคือวิชาภาษาไทย ซึ่งสอนโดยคุณครุภร ในวันนี้ครูภรเริ่่มต้นด้วยให้เล่าเรื่องจากการอ่าน หน้าที่ 20 - 44 ผ่านการใช้คำถามกระตุ้นการคิด
...................................................................................................................................................................
วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2560
เช้านี้พี่ๆม.3 ได้ทำกิจกรรมจิตศึกษา กำกับสติเพื่อได้อยู่กับตัวเองผ่านกระบวนการ โยคะ โดยในวันนี้พี่ๆ ม.3 หลายครสามารถทำท่าโยคะต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยม หลังจากทำท่าโยคะต่างๆ พี่ ม.3 ก็เริ่มเรียนในวิชาเเรกคือวิชาภาษาไทย ซึ่งสอนโดยคุณครุภร ในวันนี้ครูภรเริ่่มต้นด้วยให้เล่าเรื่องจากการอ่าน หน้าที่ 20 - 44 ผ่านการใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- จอร์จสั่งให้เลนนี่ทำอะไรบ้าง
- ลำดับเหตุการณ์ของเรื่องว่าอันใดมาก่อนมาหลัง
- คาดการณ์ลักษณ์ของตัวละคร จากการใช้คำฑูดของตัวละคร
- ตัวละครมีกี่ตัว เเต่ละตัวมีความสำคัญอย่างไร
- หน้าที่ของตัวละครแต่ละตัวมีอะไรบ้าง
- คำที่ใช้เรียกแทนชื่อในวรรณกรรม มีการเรียกกันอย่างไรบ้าง
ก่อนการเรียนในวิชาตอนบ่าย พี่ๆได้ BODY SCAN ผ่านการนอนเพื่อพักผ่อนร่างกาย เเละเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเรียนในวิชา PBL2 โปรตีนสะอาดเเละปลอดภัย โดยในวันนี้พี่ๆได้ออกสำรวจ เล้าไก่ เเละแปรงผัก ของกลุ่มตนเองเพื่อหาจุดที่เสียหายว่า ตรงส่วนใดมีส่วนที่เสียหายและดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเรียบร้อย จากนั้นก้ได้มีการเตรียมแปลงผักของกลุ่มตนเอง เพื่อให้พร้อมกับการนำเมล็ดผักลงปลูก
หลังจากเตรียมแปลงผักเสร็จแล้ว พี่ๆก็ได้ทำกิจกรรม จัดกาย จัดใจ และเรียนในวิชา พละศึกษาต่อไป
............................................................................................................................................................................
วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.
2560
หลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติ
พี่ ม.3เริ่มต้นเช้าแห่งการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
กับจิตศึกษาจากครูอัง วันนี้ครูอังเริ่มด้วยการกำกับสติด้วยการ
กับมารับรู้ลมหายใจเข้าออกของตัวเองอย่างมีสติ จากนั้นให้พี่ ม.3 ฟังเพลง Live and Learn พูดแบบนี้หลายคนอาจจะไม่รู้จัก ถ้าแปลเป็นภาษาไทย
คือ เพลงอยู่เพื่อเรียนรู้ อยู่เพื่อยอมรับมัน เมื่อเพลงจบแล้ว
ครูอังใช้คำถามกระตุ้นการคิด ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร แล้วให้พี่ ม.3 ตอบ จากนั้นก็ให้ฟังอีก 1 รอบ ในรอบนี้ให้ฟัง
พร้อมทั้งเลือกมา 1 ประโยคที่ตัวเองชอบ
และประโยคนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไร โดยให้เขียนผ่านกระดาษที่ครูแจกให้
แล้วนำคำตอบที่เขียนลงไปในกระดาษมาแชร์กัน
ในชั่วโมงวิชาภาษาไทย เนื่องด้วยวันนี้พี่ ม.3 ไม่มีวิชาภาษาไทยในตารางเรียน ทุกวันพุธ และวันศุกร์ ครูแจ็บได้ออกแบบตารางการสังเกตในวิชาภาษาไทยขึ้นมาใหม่ ทุกวันพุธ ครูแจ๊บจะไปเรียนรู้ร่วมกับพี่ ม.1 ในคาบที่ 2 และในวันศุกร์ จะไปเรียนรู้วิชาภาษาไทย ร่วมกับพี่ ม.2
ในคาบวิชาภาษาไทยของพี่ ม.1 ใช้วรรณกรรมเรื่อง ไม่มีใครเขียนจดหมายถึงนายพัน ผู้แต่ง กาเบรียล มาร์เกช ครูดอกไม้ใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆ อ่านแล้สรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง พี่ๆชอบช่วงไหนมากที่สุด จากนั้นต่อด้วยกิจกรรมจดหมายน้อย เป็นรูปแบบเกมการดูตัวอักษรแบบเร็ว แล้วให้นึกถึงคำที่มีตัวอักษรนั้น ทั้งในรูปแบบพยัญชนะต้น ตัวสะกด เมื่อเล่นเสร็จแล้ว เพิ่มความยากของคำเข้าไปอีกคือ จับได้อักษรตัวไหน ให้หาคำที่มีอักษรตรงกลาง เมื่อเล่นกิจกรรมนี้เสร็จแล้ว ครูดอกไม้ชงต่อด้วย จดหมายเล็ก ซึ่งข้างในใส่คำอธิบายชนิดของคำทั้งหมด 4 คำ โดยแบ่งเป็นกลุ่มจากการจับไม้ไอติมตามสี ใครจับได้สีเดียวกันก็อยู่ด้วยกัน
แล้วให้พี่ ม.1 ช่วยกันเรียงคำในซองจดหมายให้ถูกต้อง
แล้วช่วยกันระดมความคิดว่าจากคำอธิบายเหล่านี้ แต่ละกลุ่มคิดว่าเป็น
คำชนิดใดในภาษาไทย
ตัวอย่างคำอธิบายเช่น ฉันคือใคร ฉันทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ
ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล
หรือเชื่อมความให้สละสลวย ฉันมีหน้าที่นะมีหลายชนิดด้วย ฉันหาง่ายๆ
เพราะมีข้อสังเกตชัดเจน เมื่อพี่ๆ ม.1 ช่วยกันหาชนิดของคำได้
ก็นำไปแชร์กันในวงกลมใหญ่ แล้วครูดอกไม้ได้ให้พี่สืบค้นหาข้อมูล จากอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นการหาข้อมูลแบบ
100 เปอร์เซ็นต์ และให้นำกลับมาคุยกันในคาบต่อไป หลังจากสังเกตวิชาภาษาไทยของพี่ ม.1 เสร็จก็กลับมาห้องพี่ ม.3 ได้เริ่มเรียนในวิชาต่อไปคือ PBL1 และพักเที่ยง จากนั้นเริ่มเรียนต่อในรายวิชาต่อไปตามรูปแบบการเรียนของทุกวัน
.....................................................................................................................................................
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
เมื่อเข้าแถวเคารพธงชาติ เสร็จเรียบร้อย พี่ๆ ม.3 เริ่มด้วยการเดินเพื่อกำกับสติรู้ตัว
หลังจากเดินเสร็จ ก็เริ่มกิจกรรมด้วยจิตศึกษา โดยเริ่มจากการกำกับสติกลับมารับรู้ลมหายใจของตนเอง
จากนั้นครูใช้สื่อรูปภาพ รูปรถยนต์ รูปจักรยานยนต์ แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด เห็นอะไรบ้าง?
เห็นรูปนี้แล้วนึกถึงอะไรบ้าง? จากนั้นครูใช้สื่อบัตรคำ เช่นคำว่า ความคิด ศักยภาพ การเรียนรู้
จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่อ พี่ๆเห็นอะไรบ้าง?
พี่ๆเห็นรูปนี้แล้วนึกถึงอะไรบ้าง?
ครูแจกกระดาษกับปากกาให้กับทุกคน แล้วใช้คำถามว่า พี่ๆคิดว่ามีอะไรบ้างที่เราสามารถ้ามขีดจำกัดของตนเองได้
และมีอะไรอีกบ้างที่เราไม่สามารถข้ามขีดจำกัดตัวเองไม่ได้ให้ทุกคนเขียนคำตอบลงไปในกระดาษข้างหน้าของตนเอง
จากนั้นร่วมกันแชร์คำตอบของพี่ๆให้กับทุกคนได้ฟังทุกคน
ในวันนี้วิชา PBL เนื่องด้วยครูภรต้องทำธุระอยู่กับผู้ใหญ่ใจดีที่มาดุงานที่โรงเรียน
จึงได้แลกเปลี่ยนคาบกับวิชา PBL1 ทำให้วันนี้ในตอนเช้าต้องเรียน
PBL1 ในคาบพี่ๆได้ทำ Mind mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ทราบถึงว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง
นับเป้นชิ้นงานที่ต้องใช้ทั้งความรู้ที่มีและการแยกแยะความรู้ที่มีออกมาเป็นหมวดหมู่และจัดให้อยู่ในรูปแบบของ
Mind mapping เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างง่ายดาย
ถึงแม้จะเป้นงานที่ยาก แต่จากความสามัคคีของพี่ในห้อง จากการเพื่อนช่วยเพื่อน
เราช่วยกัน ทำให้งานนี้สามารถทำออกมาได้ และมีความสนุกในการเรียนรู้
ไปพร้อมกับเพื่อน จากการสังเกตพี่ๆ ในการทำงาน ทำให้เห้นถึงความรู้ความสามารถในการจัดหมวดหมู่ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
และถูกต้อง แต่พี่ ม.3 หลายคนยังมีปัญหาน้านการเขียนคำ คือมีการเขียนคำผิด ค่อนข้างมากอยุ่
จากนั้นก็เรียนต่อในวิชาคณิตศาสตร์ และพักเที่ยง ในช่วงบ่ายเป็นวิชาภาษาไทย
ขั้นตอนและวิธีการสอนภาษาไทย
- ถามถึงงานที่เคยให้ไว้ และย้ำอีกครั้งว่างานที่สั่งต้องทำแบบไหน
- จากนั้นให้พี่คนที่หามา ช่วยแชร์ให้เพื่อนฟัง
- อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมที่นักเรียนหามา
กิจกรรม
- มีข้อมูลมาให้ เพื่อให้ทำกิจกรรม
- จากนั้นการจัดหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่ม
- ให้งาน เพื่อทำกิจกรรม จากนั้นให้นำเสนอให้เพื่อนฟัง โดยในต่ละกลุ่มจะมีวิธีการอย่างไร
ก็ได้ให้เพื่อนเข้าใจ
- และจัดลำดับการนำเสนอตามการแบ่งกลุ่ม จากการจับสี
- เมื่อนำเสนอเสร็จแล้ว ก็มีการทบทวนซ้ำถึง ความหมายและตัวอย่างคำอีกรอบ
- แล้วให้ค้นหาคำหรือประโยค โวหารภาพพจน์ชนิดใดก็ได้จากวรรณกรรม โดยหามาคนละ
2 คำ เมื่อหาได้แล้งให้
เขียนลงสมุดภาษาไทย โดยท้ายประโยคต้อง ใส่ () ว่าเป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
- เมื่อหาคำครบแล้ว ครูให้การบ้านต่อโดยการให้ไปอ่าน วรรณกรรมเรื่อง เพื่อนยากต่อ จาก
หน้า 45 - 79
.........................................................................................................................................................
วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2560
วันนี้มีการสังเกตการสอนวิชาภาษาไทย ของพี่ๆ ม.2 เรื่องคำไทยเเท้ ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนในวิชานี้ ครูฟ้าได้นำกิจกรรมการเรียงบทกลอน ผู้ใหญ่หาผ้าไหม มาให้พี่ๆได้ทำ โดยแบ่งกลอนแต่ละ บาท ออกเป็นส่วนๆ จากนั้นก็ให้นำไปเรียงใหม่ เมื่อกลุ่มไหนเรียงเสร็จแล้ว ก็ให้จดลงสมุดของตนเอง เมื่อจดลงสมุดเสร็จเเล้ว ก็นำบทกลอนมาแชร์กัน ผ่านการอ่านให้เพื่อนฟังที่ละกลุ่ม เสร็จเเล้วก็เป็นการสรุปความรู้รายสัปดาห์ โดยให้ขมวดความรู้ เรื่องคำไทยแท้ ที่เรียนมาตั้งเเต่วันจันทร์ - ศุกร์ใส่กระดาษ A4
.ในช่วงหลังเลิกเรียนมีการ PLC ของครูนึกศึกษาฝึกสอนโดยแบ่งเป็นประเด็นดังนี้
ขั้นตอนและวิธีการสอนภาษาไทย
- ถามถึงงานที่เคยให้ไว้ และย้ำอีกครั้งว่างานที่สั่งต้องทำแบบไหน
- จากนั้นให้พี่คนที่หามา ช่วยแชร์ให้เพื่อนฟัง
- อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมที่นักเรียนหามา
กิจกรรม
- มีข้อมูลมาให้ เพื่อให้ทำกิจกรรม
- จากนั้นการจัดหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่ม
- ให้งาน เพื่อทำกิจกรรม จากนั้นให้นำเสนอให้เพื่อนฟัง โดยในต่ละกลุ่มจะมีวิธีการอย่างไร
ก็ได้ให้เพื่อนเข้าใจ
- และจัดลำดับการนำเสนอตามการแบ่งกลุ่ม จากการจับสี
- เมื่อนำเสนอเสร็จแล้ว ก็มีการทบทวนซ้ำถึง ความหมายและตัวอย่างคำอีกรอบ
- แล้วให้ค้นหาคำหรือประโยค โวหารภาพพจน์ชนิดใดก็ได้จากวรรณกรรม โดยหามาคนละ
2 คำ เมื่อหาได้แล้งให้
เขียนลงสมุดภาษาไทย โดยท้ายประโยคต้อง ใส่ () ว่าเป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
- เมื่อหาคำครบแล้ว ครูให้การบ้านต่อโดยการให้ไปอ่าน วรรณกรรมเรื่อง เพื่อนยากต่อ จาก
หน้า 45 - 79
.........................................................................................................................................................
วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2560
วันนี้มีการสังเกตการสอนวิชาภาษาไทย ของพี่ๆ ม.2 เรื่องคำไทยเเท้ ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนในวิชานี้ ครูฟ้าได้นำกิจกรรมการเรียงบทกลอน ผู้ใหญ่หาผ้าไหม มาให้พี่ๆได้ทำ โดยแบ่งกลอนแต่ละ บาท ออกเป็นส่วนๆ จากนั้นก็ให้นำไปเรียงใหม่ เมื่อกลุ่มไหนเรียงเสร็จแล้ว ก็ให้จดลงสมุดของตนเอง เมื่อจดลงสมุดเสร็จเเล้ว ก็นำบทกลอนมาแชร์กัน ผ่านการอ่านให้เพื่อนฟังที่ละกลุ่ม เสร็จเเล้วก็เป็นการสรุปความรู้รายสัปดาห์ โดยให้ขมวดความรู้ เรื่องคำไทยแท้ ที่เรียนมาตั้งเเต่วันจันทร์ - ศุกร์ใส่กระดาษ A4
.ในช่วงหลังเลิกเรียนมีการ PLC ของครูนึกศึกษาฝึกสอนโดยแบ่งเป็นประเด็นดังนี้
เป้าหมาย
- เพื่อให้นักศึกษาฝึกสอนได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ความคืบหน้าที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
และได้ร่วมเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อพัฒนางานด้านต่างๆซึ่งกันและกัน
- เพื่อให้นักศึกษาฝึกสอนทุกคนได้นำเสนอ TIMELINE
ใน QUARTER ที่1 ของตนเอง
เริ่มการประชุม เวลา 16.00น.
-
เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการกำกับสติผ่าน
Brain
Gym 2 ท่าคือ ขนมจีบ – ถาดรูปแอล และ ก่อหญ้า -กรรไกร โดยครูแจ็บ
-
ส่งต่อโดยกระบวนการจิตศึกษาจากครูชลล์
- ร่วมกันสะท้อน
กระบวนการจิตศึกษาของครูชลล์ เพื่อปรังปรุงให้ดีขึ้น
-
นำเสนอ timeline
การเรียนรู้ใน QUARTER ที่ 1 ของตนเอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มตามสายงาน
ภาษา
ไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
-
ร่วมแชร์วิถี การเป็นอยู่ในแต่ละวันของแต่ละคน
- แลกเปลี่ยนคาวมเข้าใจจากคำถามกระตุ้นการคิด
“เราเข้าใจมิติของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
อย่างไร ที่เราเข้าใจ 2 อาทิตย์” (ผ่านกระบวนการแชร์แบบเป็นคู่)
อย่างไร ที่เราเข้าใจ 2 อาทิตย์” (ผ่านกระบวนการแชร์แบบเป็นคู่)
-
นัดหมายการ PLC
ครั้งหน้าโจทย์หลักคือ ทำไมต้องจิตศึกษา ทำจิตศึกษาแล้วได้อะไร
กระบวนการ
จิตศึกษาเป็นอย่างไร ทำเพื่ออะไร
จิตศึกษาเป็นอย่างไร ทำเพื่ออะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น